รู้หรือไม่ ว่าเสือโคร่งมีกี่สายพันธุ์

รู้หรือไม่ ว่าเสือโคร่งมีกี่สายพันธุ์ เสือโคร่ง เป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม นับว่าเป็นหนึ่งในสัตว์ใหญ่ ที่เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ เนื่องจากการปรากฏตัวของเสือโคร่งนั้น คือสิ่งที่บ่งบอกว่าป่าแห่งนั้น มีระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์

ทั้งพืชพรรณ และสัตว์กินพืชต่าง ๆ และหากระบบนิเวศเสียสมดุลดังกล่าวไปนั้น ชนิดพันธุ์ที่จะสูญหายไปเป็นอันดับต้น ๆ ก็คงหนีไม่พ้นเสือโคร่งเป้นแน่ จึงไม่น่าแปลกใจ หากเสือโคร่งจะกลายเป็นสัญลักษณ์ ของการอนุรักษ์ผืนป่า

เสือโคร่งที่พบในโลกปัจจุบัน มีทั้งหมด 6 สายพันธุ์นั่นเอง คือ เสือโคร่งไซบีเรีย เสือโคร่งเบงกอล เสือโคร่งอินโดจีน เสือโคร่งสุมาตรา เสือโคร่งจีนใต้ เสือโคร่งมลายู และสูญพันธุ์ไปแล้ว 3 ชนิดพันธุ์ย่อย ๆ คือเสือโคร่งแคสเปียน เสือโคร่งชวา และเสือโคร่งบาหลีนั่นเอง

รู้หรือไม่ ว่าเสือโคร่งมีกี่สายพันธุ์

รู้หรือไม่ ว่าเสือโคร่งมีกี่สายพันธุ์

1. เสือโคร่งเบงกอล

ในปัจจุบัน เสือโคร่งเบงกอลในธรรมชาติเหลืออยู่เพียง 3,000 ตัว จากครั้งหนึ่งที่พวกมันเคยมีถิ่นที่อยู้อาศัยตั้งแต่ประเทศตุรกี ยาวไปถึงด้านตะวันออกของรัสเซีย และราวศตวรรษที่แล้ว ก่อนการล่าและการทำลายผืนป่าอย่างรุนแรง ในทวีปเอเชียมีเสือโคร่งเบงกอลกว่า 100,000 ตัวเลยทีเดียว

ปัจจุบัน ลูกหลานของพวกมัน อยู่อาศัยในผืนป่าเพียงส่วนเสี้ยวจากในอดีต กระจัดกระจายไปตามหย่อมเล็กหย่อมน้อย ลดโอกาสที่จะขยายพันธุ์ต่อ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ชนิดพันธุ์เสือโคร่งอย่างเสือโคร่งแคสเปียน เสือโคร่งชวา และเสือโคร่งบาหลี นี้ จะสูญหายไปจากโลก เหลือไว้เพียงอีก 6 ชนิดพันธุ์ให้เราได้อ่านในบทความนี้

จากการศึกษาล่าสุด พบว่าใน 3 ช่วงชีวิตของเสือ (ราว 21 ปี- 27 ปี) ประชากรของเจ้าแมวยักษ์ได้ลดลงราวร้อยละ 50 เช่นเดียวกับพื้นที่อยู่อาศัยของมัน ก็ลดลงครึ่งหนึ่งเช่นเดียวกัน การลดลงของพื้นที่ และการล่าที่โหดร้าย เพื่อนำชิ้นส่วนไปทำยาแผนโบราณ ของประเทศจีนนั้น ทำให้อนาคตจของเสือโคร่งตามธรรมชาติค่อนข้างมืดมนเลยทีเดียว

เกือบครึ่งของประชากรเสือโคร่งตามธรรมชาติ คือชนิดพันธุ์เบงกอล หรือบางครั้งอาจเรียกว่าเสือโคร่งอินเดีย เนื่องจากพวกมันส่วนใหญ่อยู่อาศัยในประเทศอินเดีย และกระจายตามผืนป่าในประเทศยบังคลาเทศ เนปาล ภูฏาน พม่า และจีน

หากมีพื้นที่และเหยื่อ เสือโคร่งเบงกอลสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ไม่ว่าจะเป็นผืนป่าหรือทุ่งหญ้า และเสือโคร่งเบงกอลยังเป็นชนิดพันธุ์ย่อยชนิดพันธุ์เดียวที่สามารถอาศัยได้ในป่าชายเลน คือบนหมู่เกาะ Sundarbans บริเวณอ่าวเบงกอล

เสือโคร่งส่วนใหญ่มักใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว แต่หากพื้นที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ เราก็สามารถพบเสือโคร่งอาศัยอยู่ร่วมกันได้จำนวนมาก จึงไม่น่าแปลกใจที่ประเทศอินเดียคือพื้นที่ที่ดีที่สุดของพวกมัน เสือโคร่งเบงกอล คือชนิดพันธุ์ย่อยที่ชื่นชอบเหยื่อประเภทหมู กวาง และสัตว์กีบอื่น ๆ ความอุดมสมบูรณ์ในอินเดีย

สะท้อนได้จากการใช้พื้นที่ราว 100 ตารางกิโลเมตร ที่จะพบเสือโคร่งเบงกอลถึง 18 ตัวในเขตคุ้มครองเสือโคร่ง Corbett ในประเทศอินเดีย ในขณะที่พื้นที่ดังกล่าว สามารถรองรับเสือโคร่งสุมาตราได้เพียงตัวเดียว และสำหรับเสือโคร่งไซบีเรียตัวผู้หนึ่งตัว จำเป็นต้องใช้พื้นที่อยู่อาศัยถึง 1,000 ตารางกิโลเมตรเลยทีเดียว

รู้หรือไม่ ว่าเสือโคร่งมีกี่สายพันธุ์

2. เสือโคร่งไซบีเรีย

ถึงจะชื่อว่าเสือโคร่งไซบีเรีย แต่ถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมันนั้น กลับอยู่ในบริเวณผืนป่าที่หนาวเย็น ทางตะวันออกของรัสเซีย และนับว่าเป็นชนิดพันธุ์ของเสือโคร่งที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างมาก เนื่องจากประชากรที่สำรวจได้ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เหลือเพียงไม่กี่สิบตัว แต่ปัจจุบัน เสือโคร่งไซบีเรียสามารถพบในรัสเซียราว 400 ถึง 500 ตัว กระจายพันธุ์เล็กน้อยในประเทศจีน และบางทีอาจมีในประเทศเกาหลีเหนือ

การฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งไซบีเรีย นับเป็นโครงการเพื่อการอนุรักษ์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก และอาจเป็นความหวังใหม่ให้กับอนาคตของเสือโคร่ง เนื่องจากเสือโคร่งตัวเมีย 1 ตัว สามารถคลอดลูกได้ 15 ตัวในหนึ่งช่วงชีวิต และหากยังมีพื้นที่ให้สมาชิกใหม่ที่แข็งแรงสามารถอยู่อาศัยได้ การฟื้นฟูประชากรก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่มนุษย์จะต้องมีข้อตกลงในการห้ามล่าอย่างเด็ดขาด

ข้อตกลงดังกล่าวนั้น สำเร็จได้ไม่ยากในกรณีของเสือโคร่งไซบีเรีย เนื่องจากพวกมันอยู่อาศัยในผืนป่าทางตอนเหนือ ที่แทบไม่มีมนุษย์อยู่อาศัย และมีพื้นที่มหาศาลที่ยังคงสภาพความเป็นธรรมชาติ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ผืนป่าทางทิศตะวันออกของรัสเซีย นับว่าเป็นชิ้นส่วนป่าที่ใหญ่ที่สุดที่เป็นที่อยู่อาศัยของเสือโคร่งในโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่อาณาจักรแห่งนี้จะได้รับการฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว

รู้หรือไม่ ว่าเสือโคร่งมีกี่สายพันธุ์

3. เสือโคร่งอินโดจีน

เสือโคร่งอินโดจีนอาจเป็นบรรพบุรุษของเสือโคร่งทุกชนิดพันธุ์ ก่อนที่สายพันธุ์เสือโคร่งจะแตกแขนงเป็นชนิดพันธุ์ต่างๆ เมื่อราว 108,000 หรือ 72,000 ปีที่ผ่านมา ราวปลายทศวรรษที่ 1990 เสือโคร่งอินโดจีนนับว่าสามารถพบเห็นได้ไม่ยากในพื้นที่ประเทศพม่า ไทย เวียดนาม ลาว ทางตอนใต้ของจีน และกัมพูชา

แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาอย่างกว้างขวาง ปัจจุบัน รายงานของ IUCN ชี้ว่าเสือโคร่งอินโดจีนนับว่าเป็นชนิดพันธุ์ที่อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ โดยคาดว่าเหลืออยู่เพียง 300 ตัวตามธรรมชาติ

การล่าอย่างรุนแรงไม่ได้กระทบเพียงเสือโคร่งอินโดจีน แต่ยังส่งผลต่อประชากรของหมูป่า กวาง วัวแดง และสัตว์กีบขนาดใหญ่ชนิดอื่นที่เสือโคร่งมักล่าเพื่อเป็นอาหาร โครงการพัฒนาทางเศรษฐกิจในภาคพื้นทวีปดังกล่าว

ไม่ว่าจะเป็นถนน เขื่อน หรือเหมืองแร่ ต่างก็เป็นแรงกดดันต่อเจ้าแมวยักษ์ชนิดนี้ แต่นับว่ายังโชคดีที่พื้นที่ป่าดิบชื้นขนาดใหญ่และอุดมสมบูรณ์ยังคงหลงเหลืออยู่ ซึ่งอาจเป็นความหวังให้กับการอนุรักษ์ หากมีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ

รู้หรือไม่ ว่าเสือโคร่งมีกี่สายพันธุ์

4. เสือโคร่งสุมาตรา

ในปี ค.ศ. 1978 ได้มีการสำรวจประชากรเสือโคร่งสุมาตรา บนเกาะสุมาตราได้ราว 1,000 ตัว แต่ปัจจุบัน คาดว่ามีเหลืออยู่ไม่ถึงครึ่งหนึ่ง เนื่องจากการล่าที่รุนแรงมากขึ้น และอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและกระดาษ ที่บุกทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมัน

ในปี ค.ศ. 2004 องค์กร TRAFFIC ได้รายงานว่า องค์กรนานาชาติอย่าง IUCN และ WWF ได้พยายามที่จะติดตามการล่า และค้าสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมาย ก่อนจะได้ข้อสรุปว่าทุก ๆปี จะมีการล่าเสือโคร่งสุมาตราราว 40 ตัว

เสือโคร่งสุมาตรา นับเป็นชนิดพันธุ์ย่อยของเสือที่อยู่บนเกาะชนิดสุดท้าย ซึ่งในอดีตเกาะที่อยู่ไม่ไกลกันอย่างหมู่เกาะบาหลี และหมู่เกาะชวาในอินโดนีเซีย ต่างก็เคยเป็นที่อยู่อาศัยของ เสือโคร่งบาหลี และเสือโคร่งชวา ทั้งสองชนิดพันธุ์นั้นสูญพันธุ์ ในราวศตวรรษที่ 20

และจากประสบการณ์ในอดีต ทำให้นักอนุรักษ์ต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อรักษาเสือโคร่งสุมาตราไว้ ไม่ให้สูญพันธุ์เช่นเดียวกับญาติของมัน

เสือโคร่งจีนใต้

5. เสือโคร่งจีนใต้

เวลาของเสือโคร่งจีนใต้ได้หมดลงแล้ว เพราะนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 ก็ไม่มีใครสามารถบันทึกพวกมันตามธรรมชาติได้อีก แม้ว่าอาจจะมีหลงเหลืออยู่ไม่มากนัก แต่คาดว่าชนิดพันธุ์ย่อยนี้อาจสูญพันธุ์จากธรรมชาติไปแล้วก็เป็นได้ แม้ว่าในทศวรรษที่ 1950 มีการประมาณการว่าประชากรของพวกมันมีอยู่ราว 4,000 ตัว ซึ่งนับได้ว่ามีจำนวนมากกว่าประชากรเสือที่หลงเหลืออยู่บนโลกปัจจุบัน

เสือโคร่งจีนใต้ เป็นเหยื่อของการพัฒนาอย่างทำลายล้างจากการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของประเทศจีน ในทศวรรษที่ 1950 และ 1960 ซึ่งการมาถึงของกฎหมายคุ้มครองนั้นค่อนข้างสายไป หลังจากที่ได้รับการประกาศให้ห้ามล่าในปี ค.ศ. 1979 รวมทั้งออกมาตรการเพื่อการอนุรักษ์อีกมากมายในทศวรรษ 1990 แต่น่าเสียดาย ที่เมื่อเวลานั้นประชาการเสือโคร่งก็ลดลงอย่างไม่อาจฟื้นฟู

นักอนุรักษ์บางคนมองว่า พื้นที่คุ้มครองที่ไม่มีการรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์ยังมีไม่เพียงพอที่จะฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งขึ้นมาใหม่ได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นพ้องกัน เพราะกลุ่ม Save China’s Tigers ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานเพื่อการอนุรักษ์ป่าของรัฐ ได้ดำเนินโครงการที่หลายคนไม่เห็นด้วยคือ Rewilding ที่จะนำชนิดพันธุ์ที่ถูกเพาะเลี้ยงขึ้นไปปล่อยไว้ในเขตอนุรักษ์ทางตอนใต้ของแอฟริกา

เพื่อเรียนรู้การเอาตัวรอดและเพิ่มจำนวนประชากร ก่อนที่จะนำกลับมาปล่อยในป่าของประเทศจีน ในขณะที่นักอนุรักษ์หลายกลุ่มมองว่าเป็นการกระทำที่สิ้นหวัง แต่โครงการก็ยังคงเดินหน้าต่อ ซึ่งในปี ค.ศ. 2012 มีลูกเสือโคร่งราว 12 ตัวได้รับการเพาะเลี้ยงเพื่อโครงการนี้

เสือโคร่งมลายู
OLYMPUS DIGITAL CAMERA

6. เสือโคร่งมลายู

ปัจจุบันคาดว่าเหลือเสือโคร่งมลายูราว 500 ตัว ที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรมลายู บริเวณประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย แต่พื้นที่ป่าในบริเวณดังกล่าวกำลังถูกคุกคามอย่างหนัก เนื่องจากการแผ้วถางเพื่อใช้เป็นพื้นที่ทำกิน รวมทั้งการพัฒนาที่ดินเพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ

จึงทำให้ในบริเวณดังกล่าว เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับเสือโคร่ง เช่นการที่เสือโคร่งบุกเข้ามากินสัตว์เลี้ยงของชุมชน และราคาที่มันต้องจ่ายก็คือชีวิตของมันเสือโคร่งมลายูนั้นอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายในป่าหย่อมเล็กหย่อมน้อยที่คาบสมุทรมลายู ซึ่งได้มีการวิจัยว่าเสือโคร่งมลายู 2 ตัว จะใช้พื้นที่ทั้งสิ้น 100 ตารางกิโลเมตร

เนื่องจากเหยื่อของพวกมันอย่างหมูป่า กวาง และอาหารอื่นๆ ของเสือโคร่งนั้นมีค่อนข้างน้อย แต่โชคดีที่เจ้าเสือโคร่งพวกนี้ยังมีคนที่คอยปกป้องพวกมัน เนื่องจากรัฐบาลมาเลเซียได้มีแผนการจะสร้างทางเชื่อมป่า เพื่อเพิ่มโอกาสการขยายพันธุ์เสือ และเพื่อเพิ่มจำนวนของสัตว์ป่าให้เป็นสองเท่าในภายในปี ค.ศ. 2022

เสือโคร่งมลายู นับว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกับเสือโคร่งอินโดจีนทั้งสี ลาย และสัณฐานของกระโหลก จนเรียกว่ายากที่จะแยกด้วยตาเปล่า กระทั่งการศึกษาทางพันธุกรรมในปี ค.ศ. 2004 ได้แยกเสือโคร่งมลายู ออกจากเสือโคร่งอินโดจีน เป็นชนิดพันธุ์ย่อยใหม่ของโลก

เชื่อว่าเกมเมอร์ยุคเก่าหลายๆ คนคงจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี กับ DOOM เกมยิงปิศาจสุดเก๋า แต่มันส์ไม่แพ้ใคร! เพราะนี่คือเกมที่เป็นตำนานของวงการเกมยิงในยุคแรก ๆ เลยก็ว่าได้ ด้วยกราฟิกที่สุดจะโดดเด่น และรูปแบบวิธีการเล่นที่ถือว่าเป็นรูปแบบใหม่มาก

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ : Digital Platform ทางรอดธุรกิจอาหารไทย