Digital Platform ทางรอดธุรกิจอาหารไทย

Digital Platform ทางรอดธุรกิจอาหารไทย – เว็บไซต์สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้เผยแพร่รายงานผลวิจัยที่ร่วมกับ Wongnai บริษัทผู้พัฒนา Platform ร้านอาหาร ในหัวข้อ “ แพลตฟอร์มดิจิทัลกับโอกาสและความท้าทายของ SMEs ไทย: กรณีศึกษาธุรกิจร้านอาหาร จากข้อมูล ‘วงใน’ ”

โดยใช้ข้อมูลจาก 3 แหล่ง ประกอบด้วย ข้อมูลสัมมะโนครัวจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ข้อมูลงบการเงินจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และข้อมูลจัดเก็บโดย Wongnai ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีข้อค้นพบที่น่าสนใจมากมาย

Digital Platform ทางรอดธุรกิจอาหารไทย

ภาพรวมขนาด ที่ตั้ง และประเภทอาหาร

ร้านอาหารในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก (small) หรือเล็กมาก (micro) กว่า 38 เปอร์เซ็นต์เป็นร้านอาหารที่มีพนักงาน 1 คน และ 33 เปอร์เซ็นต์ มีพนักงาน 2 คน ด้านที่ตั้งกระจุกอยู่ตามหัวเมืองใหญ่และเมืองท่องเที่ยว

ส่วนประเภทร้านอาหารจากข้อมูลของ Wongnai พบว่าร้านอาหารไทยมีสัดส่วนสูงสุด การที่ร้านอาหารส่วนใหญ่เป็นร้านขนาด Small และ Micro จึงมีข้อจำกัดต่าง ๆ จากการขาดการประหยัดต่อขนาด (economies of scale) ที่กระทบต่อผลประกอบการอันจะกล่าวถึงต่อไป

ความท้าทายจาก 3 ปัจจัยต่ำของธุรกิจอาหาร

นับเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร ในการวิจัยสรุปถึง 3 ปัจจัยที่เป็นความท้าทายในธุรกิจอาหาร ได้แก่ อัตราผลตอบแทนต่อทรัพย์สินต่ำ (Return on Asset), สภาพคล่องต่ำ และอัตราความอยู่รอดต่ำด้านอัตราผลตอบแทนต่อทรัพย์สิน พบว่าผลตอบแทนธุรกิจมาจากปริมาณการขาย

ไม่ใช่กำไรต่อหน่วย จึงเป็นธุรกิจที่อ่อนไหวต่อเหตุการณ์ที่กระทบต่อการทำการขาย นอกจากนี้ ยังพบว่าธุรกิจอาหารส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ย ROA ต่ำกว่าภาคธุรกิจบริการ มีเพียงร้านอาหารขนาดใหญเท่านั้นที่มีอัตราสูงเท่าค่าเฉลี่ย ด้านสภาพคล่อง พบว่า Cash burn rate ของร้านอาหารอยู่ที่ 45 วัน ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของธุรกิจบริการอื่นๆ ซึ่งอยู่ได้ยาวถึง 133 วัน

ด้านอัตราความอยู่รอด สำรวจากอายุธุรกิจร้านอาหาร พบว่ามีร้านอาหารอายุไม่เกิน 5 ปี กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนร้านอาหารอายุเกิน 10 มีสัดส่วนรวมกันอยู่ที่ 17 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ การอยู่รอดสัมพันธ์กับการแข่งขันโดยเฉพาะการเปิดร้านอหารเพิ่มพื้นที่ที่มีร้านอาหารและประชากรหนาแน่นจะลดโอกาสอยู่รอดของร้านอาหารในพื้นที่มากขึ้น นอกจากนี้ การเปิดร้านอาหารตามกระแสนิยม ส่งผลทางลบต่อการอยู่รอดของร้านอาหาร

ตัวอย่างที่สะท้อนอัตราการอยู่รอดที่ชัดเจน คือการเปิดร้านชานมไข่มุกในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 740 เปอร์เซ็นต์จากปีที่แล้ว ซึ่งในปี 2563 กลับมีร้านชานมไช่มุกจำนวนมากต้องปิดกิจการไป

Digital Platform ทางรอดธุรกิจอาหารไทย

PM2.5 และ COVID-19 กระตุ้นการใช้ Digital Platform

Digital Platformกลายเป็นการตอบโจทย์พฤติกรรมการบริโภคในปี 2563 โดยปริยาย ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 ที่เกิดเหตุการณ์ PM2.5 ในเขตเมือง ซึ่งจากการวิจัยพบว่าผู้คนลดการเดินทางออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านลง ต่อมาไม่นานเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้เกิดการ Lockdown ซึ่งกระตุ้นการใช้งานDigital Platform อย่างมาก

ทั้งนี้ นักวิจัยเผยว่าประโยชน์ของDigital Platform มีด้วยกัน 2 ข้อ ได้แก่ การเชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขาย กับการเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้ซื้อ นอกจากนี้ ยังพบว่าคะแนนรีวิวร้านอาหาร มีผลต่ออัตราการอยู่รอดของร้านอาหารอย่างมีนัยยะสำคัญ

ความไม่เท่าเทียมทาง Technology กับโอกาสอยู่รอดของร้านอาหารไทย

แม้ว่าร้านอาหารจะใช้ประโยชน์จากDigital Platform แต่ยังมีโจทย์ใหญ่ที่ขวางทางการอยู่รอดของร้านอาหารขนาดเล็ก โดยมีสาเหตุจากความต่างด้านเทคโนโลยี 3 อย่าง ช่องว่างของเทคโนโลยี การเข้าถึงเทคโนโลยี และความรู้ในการใช้เทคโนโลยี นักวิจัยระบุว่าข้อมูลสัมมะโนอุตสาหกรรมในปี 2560 พบว่ามีการซื้อขายอาหารทางออนไลน์น้อย

และพบว่าร้านอาหารขนาดใหญ่จะขายอาหารผ่านทางเว็บไซต์ของตนและทาง Social Media มากกว่า E-Commerce Platform หรือช่องทางอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การเข้ามาของ COVID-19 ทำให้ร้านอาหารปรับตัวมากขึ้น โดยเปลี่ยนจากการขายแบบ Physical อย่างเดียวเป็นแบบ Hybrid ซึ่งมีตัวเลขเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การสนับสนุนที่จะทำให้ตัวเลขนี้เติบโตอย่างยั่งยืนยังเป็นการลดช่องว่างของเทคโนโลยี เพิ่มการเข้าถึงและส่งเสริมความรู้ในการใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น

Digital Platform ทางรอดธุรกิจอาหารไทย

ประโยชน์ข้อแรกของแพลตฟอร์มดิจิทัลคือ การเป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย  บทความนี้จะใช้การแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นกรณีศึกษา  โดยการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อภาคบริการของไทยเป็นอย่างมาก และธุรกิจร้านอาหารก็เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด 

ในวันที่ 20 มีนาคม 2563 กรุงเทพมหานคร ได้มีคำสั่งปิดห้างสรรพสินค้าและให้ร้านอาหารสามารถจำหน่ายอาหารเพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่นได้เท่านั้น เป็นระยะเวลา 20 วัน โดยหลายจังหวัดได้ออกคำสั่งในลักษณะเดียวกันตามมา ส่งผลให้ร้านอาหารมียอดขายลดลงเนื่องจากไม่สามารถให้ลูกค้านั่งรับประทานอาหารภายในร้านได้ และจำเป็นต้องหาช่องทางการขายอื่นๆ ทดแทน  ร้านอาหารจำนวนมากได้เปลี่ยนมาเน้นการขายแบบส่งถึงที่ (delivery) และใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นตัวช่วยในการเพิ่มช่องทางการขาย

ประโยชน์อีกข้อของแพลตฟอร์มดิจิทัลคือ ช่วยลดข้อจำกัดของผู้บริโภคในเรื่องของข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าและบริการ  ผู้บริโภคส่วนใหญ่อาจลังเลที่จะไปใช้บริการหรือสั่งซื้ออาหารจากร้านที่ไม่เคยใช้บริการมาก่อนเนื่องจากไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับร้านนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรสชาติ ความสะอาด บริการ ฯลฯ 

ซึ่งเป็นอุปสรรคของร้านอาหารในการขยายตลาดไปยังผู้บริโภครายใหม่  แพลตฟอร์มดิจิทัลสามารถช่วยลดข้อจำกัดนี้ได้ โดยแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น Wongnai เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคที่เคยใช้บริการร้านอาหารหนึ่งๆ สามารถเข้ามา review และให้คะแนนร้านนั้นๆ ได้  โดยข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้บริโภครายอื่นๆ ร้านอาหาร และผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลด้วย 

Digital Platform ทางรอดธุรกิจอาหารไทย

ผู้บริโภคที่ยังลังเลสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการตัดสินใจว่าจะทดลองสั่งอาหารจากร้านใหม่ๆ หรือไม่  ร้านอาหารที่ได้รับคะแนนรีวิวดี ก็จะมีโอกาสได้ลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น และผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลก็ได้ประโยชน์จากการมีผู้เข้ามาใช้งานมากขึ้นด้วย

มารับสาระน่ารู้กับเรา เราจะพามารู้จัก สัตว์ป่าสงวน ในประเทศไทย แล้วก็ถ้าคุณชอบกินก็ต้องบทความนี้เลยกับ สุดยอดอาหารฝรั่งเศส 7 เมนู ที่ไม่ควรพลาดเพราะแต่ละเมนูที่แนะนำมาทำให้คุณน้ำลายไหลแน่นอน